ปวดท้องบิด

ผู้หญิง ปวดท้องบิด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

ปวดท้องบิด คืออาการท้องเสียอย่างรุนแรงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชิเกลลาหรือติดเชื้อจากสัตว์เซลล์เดียวอย่างอะบีมา ผู้ที่ปวดท้องบิดมักจะรู้สึกไม่สบายท้อง ถ่ายอุจจาระบ่อย บางครั้งถ่ายอุจจาระออกมาก็มีมูกหรือมูกเลือดออกมาด้วย และปวดท้องเป็นพักๆค่ะ

บิดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1) บิดชนิดไม่มีตัว (Bacillary Dysentery หรือ Shigellosis)

เกิดจากการทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อ พบได้ทั่วไปในพื้นที่ที่มีสุขอนามัยไม่ดี

2) บิดชนิดมีตัว (Amoebic Dysentery หรือ Amoebiasis)

เกิดจากการทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้ออะมีบา มักพบการติดเชื้อได้ในบริเวณที่ร้อนชื้นและพื้นที่ที่มีสุขอนามัยไม่ดีมากนัก

สาเหตุที่ทำให้ปวดท้องบิด

บิดแต่ละชนิดเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป และความรุนแรงจะต่างกันด้วย บิดชนิดมีตัวจะรุนแรงสุดเพราะตัวอะบีมาจะเข้าไปทำลายอวัยวะภายในได้

บิดชนิดไม่มีตัว

สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มชิเกลลา (Shigella) ทั้งนี้ก็มีเชื้อชนิดอื่นที่ทำให้ปวดท้องบิดได้เหมือนกันอย่างเชื้อแคมพีโลแบคเตอร์ (Campylobacter) เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล หรือเชื้อ อี โคไล (Escherichia Coli: E. coli) และเชื้อซาโมเนลลา (Salmonella) เป็นต้น

บิดชนิดมีตัว 

สาเหตุเกิดจากอะบีมา ซึ่งเจ้าอะบีมาจะมีวงจรชีวิต 2 ระยะ ดังนี้

1) ระยะถุงหุ้ม (Cysts) เป็นระยะที่อะบีมายังแพร่กระจายไม่ได้ แต่จะอาศัยอยู่ในดิน ปุ๋ยหรือน้ำได้หลายเดือน

2) ระยะโทรโพไซท์ (Trophozite) เป็นระยะที่อะบีมาออกจากถุงหุ้มและแพร่กระจาย ส่วนใหญ่จะเกิดในระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ เจ้าอะมีบาจะฝังตัวอยู่ที่ผนังลำไส้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอุจจาระเป็นเลือด ลำไส้อักเสบและเนื้อเยื่อภายในลำไส้ถูกทำลาย จากนั้นมันก็จะสร้างถุงหุ้มขึ้นมาและออกจากร่างกายไปพร้อมอุจจาระ หากอะมีบาในระยะนี้แพร่กระจายไปยังกระแสโลหิตก็จะทำให้เชื้อไปถึงอวัยวะอื่นในร่างกายได้ และก่อให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะนั้นหรือเกิดฝี จนถึงขั้นเกิดอาการป่วยที่รุนแรง รวมถึงอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ทั้งนี้บิดยังติดต่อกันได้ผ่านเชื้อโรคที่อยู่ในอุจจาระของผู้ป่วยด้วย เมื่อเชื้อของบิดปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำ ลงไปในอาหารหรือติดมือผู้ป่วยก็ทำให้เชื้อแพร่กระจายได้ และแมลงวันยังเป็นสาเหตุทำให้เชื้อแพร่กระจายอีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้ออะบีมาเข้าสู่ร่างกาย อาจเกิดกับบุคคลเหล่านี้ได้ด้วย

  1. คนที่อพยพมาจากพื้นที่ที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี
  2. คนที่อาศัยหรือเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี
  3. คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการจัดการสุขอนามัยไม่ดี
  4. คนที่มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ
  5. คนที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

การป้องกันท้องบิด

ภาพจาก mgronline.com

การป้องกันท้องบิด 

การรักษาความสะอาดอยู่เสมอเป็นการป้องกันบิดที่ดีที่สุด สุขอนามัยที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคบิดได้ โดยให้ทำตามวิธีนี้

1) ล้างมือทุกครั้งก่อนใช้มือหยิบอาหาร

2) ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำ

3) ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับคนอื่น

4) หากมีคนในครอบครัวติดเชื้อบิด ก็ให้รักษาความสะอาดให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยการเอาเสื้อผ้ามาต้มน้ำร้อนเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

6) ดื่มน้ำจากแหล่งที่สะอาด

7) หากต้องเดินทางไปยังแหล่งที่มีสุขอนามัยไม่ดี ก็ให้หลีกเลี่ยงการทานอาหารและดื่มน้ำที่ไม่ได้บรรจุอย่างถูกสุขลักษณะ

ที่มา: https://www.pobpad.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94