อาการร้อน ปวดหัว

อากาศร้อนปวดหัว เป็นอะไร แก้อย่างไง

สภาพอากาศของเมืองไทยโดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิที่สูงมาก การที่อากาศร้อนแล้วปวดหัว เชื่อว่า หลายคนไม่รู้ว่า เป็นอะไร แก้อย่างไง ซึ่งอาการปวดหัวก็มีหลายประเภท พบบ่อยมากในวัยหนุ่มสาว หรือวัยทำงาน จะมีอาการปวดหัวแบบไมเกรน คือมีอาการปวดตุบๆ และจะเป็นข้างเดียว และอาการปวดศีรษะแบบบีบรัด อาจเกิดจากการบีบรัด ตึงตัวของกล้ามเนื้อโดยรอบ

สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวในช่วงหน้าร้อน

ความร้อนในร่างกายเกิดขึ้นได้หลายทางด้วยกัน โดยปกติจะมาจากการทำงานของกล้ามเนื้อ การหดและการคลายตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดพลังงานความร้อนได้ ก็เหมือนกับช่วงเวลาที่อากาศหนาวเย็น เราจะรู้สึกขนลุก และหนาวสั่นไปทั่วร่างกาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะการหดตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดพลังงานสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายนั่นเอง

นอกจากนี้ความร้อนยังอาจเกิดจากการย่อยอาหารในกระเพาะและลำไส้ ที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย ฮอร์โมนบางชนิดอย่าง เอพิเนฟรีน, นอร์เอพิเนฟรีน และไทรอกซิน ก็มีส่วนกระตุ้นให้มีการเผาผลาญในภาวะที่ร่างกายตี่นเต้นหรือตกใจ

โรคลมแดดก็เป็นอีกโรคที่พบเจอในหน้าร้อนนี้ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน จนมีอุณหภูมิสูงขึ้น ร่วมกับอาการขาดน้ำ จนทำให้ร่างกายเกิดภาวะช็อกจากการขาดน้ำ จนปวดหัว หน้ามืด ตาลาย เป็นลม และร้ายแรงจนถึงขั้นหมดสติ ตายได้

แก้อาการปวดหัวจากอากาศร้อน

แก้อาการปวดหัวจากอากาศร้อน

ภาพจาก https://women.thaiza.com/

หากมีอาการปวดหัวเพราะอากาศร้อน ให้ใช้ยาพาราเซตามอล และยาไอบูโพรเฟนในการรักษา ร่วมกับการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยให้อาการปวดหัวดีขึ้น แต่หากกินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ยังปวดหัวอยู่เหมือนเดิม ให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะอาการปวดหัวอาจเกิดจากโรคอื่นก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการปวดหัวแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ร่วมกับอาการตาพร่ามัว อาเจียน กินข้าวไม่ลง มีไข้สูง หรือปวดหัวมากหลังจากเพิ่งได้รับการกระทบกระแทกบริเวณศีรษะมาไม่นาน

วิธีป้องกันและการรักษา

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งจริงๆให้พกร่ม หรือสวมเสื้อคลุมกันแดดด้วย
  2. เมื่ออยู่กลางแจ้งมาอย่าเพิ่งพึ่งแอร์เย็นๆทันที เพราะร่างกายจะปรับอุณหภูมิไม่ทัน จนอาจทำให้มีไข้ หรือเป็นหวัดได้
  3. หากมีไข้ไม่ลด ให้กินยาลดไข้, ยาแก้หวัด, ยาลดน้ำมูก
  4. ควรสวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ไม่หนาเกินไป มีสีอ่อน และระบายอากาศได้ดี
  5. ให้อยู่ในที่ร่ม ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  6. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดความร้อนในร่างกาย
  7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  9. รักษาสุขภาพอนามัยให้ดี หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากการทานอาหารและออกจากห้องน้ำ เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อโรคและไวรัส