มะเร็งปากมดลูกคือมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงและยังมีความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน มะเร็งปากมดลูกเกิดจากความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งสายพันธุ์มักจะพบบ่อยนั้นคือ HPV 16 และ HPV 18 ซึ่งจะติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หรือในบางรายอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ หรืออาจจะมีภูมิคุ้มกันต่ำ การสูบบุหรี่ หรือแม้กระทั่งการมีบุตรหลายคนก็อาจจะทำให้เกิดภาวะเสี่ยง ในปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกถ้าได้รับการตรวจและวินิจฉัยจากแพทย์อย่างทันท่วงทีก็มีโอกาสที่ได้รับการรักษาและลดความเสี่ยงได้ ซึ่งเราสามารถที่จะรู้ได้เองจากความผิดปกติของร่างกาย
การมีเลือดออกจากช่องคลอด หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือหลังการตรวจภายใน และรวมไปถึงคนที่มีประจำเดือนมาแบบกะปริบกะปรอยแบบผิดปกติความผิดปกติของตกขาว ปกติผู้หญิงอย่างเราจะมีตกขาวจะมีสีขาวหรือใส เพื่อช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ช่องคลอด และต้องไม่มีกลิ่นเหม็น แต่ถ้าหากมีสีอื่นหรือมีเลือดปนออกมานั่นคือสัญญาณเตือนจากร่างกายแน่นอน ความผิดปกติของประจำเดือน ปกติผู้หญิงจะเป็นประจำเดือนไม่เกิน 7 วัน บางท่านเป็นเพียงแค่ 3-4 วันเท่านั้น แต่ถ้าหากประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ หรือมากกว่าปกติจนเห็นได้ชัดเจนนั่นคือความเสี่ยงปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะไม่ออกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลง มีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย บางรายอาจจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา เมื่อมีอาการผิดปกติเหล่านี้อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจ
การตรวจและวินิจฉัย
โดยปกติแล้วแพทย์จะทำการตรวจภายในและเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก เพื่อนำไปตรวจหาเชื้อและความผิดปกติของปากมดลูก และอาจจะมีการตรวจร่างกายเพิ่มเติม อัลตราซาวด์ร่วมด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัยและเพื่อความแม่นยำ โดยการรักษามะเร็งปากมดลูกนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งปากมดลูกและอาการที่พบจากผู้ป่วยหรือดูจากระดับความรุนแรงซึ่งวิธีที่จะใช้รักษานั้นมีตั้งแต่การผ่าตัดและใช้เคมีบำบัดไปพร้อมกัน หรือถ้ามีอาการรุนแรงมากขึ้นก็อาจจะใช้วิธีรังสีรักษาควบคู่ไปกับการใช้ยาเคมีบำบัด
ปัจจุบันวงการแพทย์สมัยใหม่ได้มีการป้องกันและลดความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV อีกทั้งยังสามารถป้องกันการติดเชื้อด้วยตัวเองโดยการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ดูแลสุขภาพร่างกายและเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจภายในนั้นสามารถเข้ารับการตรวจได้ตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไปและสามารถตรวจได้ทุกปี หรือทุก 3 ปี โดยทั้งนี้ก็เพื่อการป้องให้ทันท่วงที